วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

2.3คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

  ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความ ประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อ บังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือ ข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่าย เป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่าย อื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะ ต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสาร ที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และ เป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไป เป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต 
  1)จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต (Netiquette) เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎหมายกติกามารยาท และวางเป็นจรรยาบรรณการใช้อินเทอร์เน็ตไว้ ดังนี้
    1.1)จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อินทรอนิกส์ ผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ทุกคนมีอีเมลล์เเอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  ดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูเเลกล่องรับไปรษณีย์ (mail box) ของตนดังนี้
  • ตรวจสอบกล่องรับไปรษณีทุกวัน จำกัดจำนวนไฟล์เเละข้อมูลในตู้จดหมายของตนภายในปริมาณที่เว็บเมลกำหนด
  • ลบข้อหรือจดหมายที่ไม่ต้องการทิ้ง เพื่อลดปริมาณการใช้พื้นที่เก็บจดหมาย
  • โอ้นย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือดิสก์ของตนเอง
  • พึงระลึกไว้เสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้
  • ไม่ควรจะส่งจดหมายกระจายไปยังผู้รับจำนวนมาก
  1.2) จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนาผ่านเครือข่าย ในสนทนาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะต้องมีมารยาทต่อคู่สนทนา ดังนี้
  • ควรสนทนากับผู้ที่รู้จักเเละต้องสนทนาด้ยเท่านั้น
  • ก่อนการเรียกคู่สนทนา ควรตรวจสอบสถานะในการใช้งานของคู่สนทนา
  • หลังจากเรียกคุ่สนทนาไปเเล้วชั่วขณะหนึ่งหากผู้ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับเเสดงว่าเขาอาจติดธุระสำคัญ
  • ควรใช้วาจาสุภาพ ให้เกียรติซึ่งกันเเละกัน
1.3) จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าวหรือกระดานสนทนา   ผู้ใช้บริหารควรปฏิบัติดังนี้
  • เขียนเรื่องให้กระชับ  ให้ข้อความสั้น กะทัดรัดเข้าใจง่ายใช้ภาษาที่เรียบง่ายเเละสุภาพ
  • ไม่ควรเขียนข้อความพาดพิงถึงสถาบันของชาติในทางที่ไม่สมควร
  • ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ควรละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น
  • ไม่ควรสร้างข้อความเท็จเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
  • ไม่ควรใช้เครือข่ายส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนตน
2) บัญญัติ 10 ประการในการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้การใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เกิดประโยชน์ต่อตนเองเเละผู้อื่นจึงควรปฏิบัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ดังนี้
  1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื้น
  2. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น
  3. ไม่เปิดดูข้อมูลในเเฟ้มของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนูญาต
  4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
  5. ไม่ใช้คอมพิเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
  6. ไม่คัดหลอกโปรเเกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้อนุญาต
  7. ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
  8. ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
  9. คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
  10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา เเละมารยาทของสังคม
คุณธรรมเเละจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นระเบียบ  บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน


2.2 บริการบนอินเทอร์เน็ต

  บริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
          1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (electronic mail or e-mail) 
    เป็น บริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความ และไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่ใช้รับและส่งจดหมาย
  ชื่อหรือยูเซอร์เนม (User Name) คือ ชื่อของสมาชิกที่ใช้สมัครหรือลงทะเบียน อาจเป็นชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อบริษัท หรือชื่อสมมุติก็ได้ แอท คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ มีลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเองที่มีวงกลมล้อมรอบ @ ซึ่งมาจาก แอทซาย (at sing) ในภาษาอังกฤษ โดเมนเนม (Domain Name) คือ ที่อยู่หรือชื่อของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สมัครเป็นสมาชิกไว้ เพื่ออ้างเมล์เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ รหัส คือ ข้อมูลบอกประเภทขององค์กรและประเทศของเว็บไซต์ที่ให้บริการทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น .com หมายถึง องค์การธุรกิจการค้า หรือ .co.th หมายถึง องค์การธุรกิจการค้าในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น เช่น Outlook.com เป็นต้น




          2) เมลลิงลิสต์ (mailing list) 
เป็น เสมือนเครื่องมือที่ใช้กระจายข่าวสารและข้อมูลเฉพาะกลุ่ม การใช้งานจะเป็นลักษณะของการสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยใช้อีเมลแอดเดรสเป็น สื่อติดต่อและรับข่าวสารต่างๆ จากกลุ่ม เช่น http://groups.yahoo.com เป็นต้น

          
            3) การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication)  
  เป็น การสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่ง จากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น ไลน์ (line) สไกป์ (Skype) แทงโก้ (Tango) เป็นต้น





          4) เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking Web sites) 
  เป็น ชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวีดิทัศน์ การเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวบรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หรือให้ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ เช่น facebook  Myspace  Hi5   twitter  Linkedin Gotokwon เป็นต้น
 




          5) บล็อก (blog) 
  เป็น ระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฏในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ ส่วนบนคำว่า “บล็อก” มาจากคำว่า “เว็บล็อก (web log)” เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุ วันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลและความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือ มัลติมิเดียได้ เช่น Blogger, GooggleBlog และ BLOGGANG
 




          6) วิกิ (wiki ) 
   เป็น รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่ หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายละเอียดของข้อมูลที่เผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสมารถใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการ เรียนการสอน องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับ ให้บุคคลในองค์กรใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถเรียกดูประวัติการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังได้ ดังนั้นวิกิจึงเหมาะสำหรับการเก็บรวบรวมรายละเอียดของเอกสารที่มีการเปลี่ยน แปลงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างวิกิ เช่น Wiki pedia , WIKIBOOKS
 
      
  7)บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล(remote login/telnet)
  บริการนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปทำงานต่างๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่ เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลกันก็ตาม ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามายังสถานที่เดิมเพื่อใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าว ทำให้ประหยัดเวลาเเละค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก ในการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกลผู้ใช้สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ ระยะไกลทำงานต่างๆตามที่ต้องการได้โดยป้อนคำสั่งผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้งานกำลังใช้งานอยู่ ผลลัพธ์ในการทำานเหล่านั้นก้จะถูกส่งกลับไปแสดงที่จอภาพของเครื่อง คอมพิวเตอร์นั้นด้วยเช่นกัน
                ในการใช้บริการนี้ ผู้ใช้งานจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูเเลเครื่องคอพิวเตอร์ที่้องการเข้าไป ใช้งานก่อน ซึ่งผู้ใช้ผู้นั้นจะต้องทราบชื่อบัญชีพร้อทั้งรหัสผานสำหรับการเข้าใช้ เคครื่องคอมพิวเตอร์นั้นด้วย โปรมเเกรมที่นิยมในการใช้บริการนี้ ได้แก่ โปรมแกรม telnet สำหรับโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการวินโดว์มีอยู่มากมาย  เช่น โปรแกรม QvtNet  โปรแกรม HyperTerminal  เป็นต้น
                เมื่อเริ่มต้นใช้โปรแกรมดังกล่าวข้างต้น  ผู้ใช้จะต้องระบุชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์หรือหมายเลขไอพีของเครื่องที่ต้อง การจะติดต่อเพื่อเข้าใช้งาน    จากนั้นโปรแกรมจะจำลองจอภาพของคอมพิวเตอร์ที่ระบุ  เพื่อให้ผู้ใช้กรอกชื่อบัญชีและรหัสผ่าน   หากสามารถกรอกได้ถูกต้องก็อนุญาตให้ผู้ใช้เข้าทำงานต่างๆในเครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้
                หลักการทำงานของบริการนี้   จะมีลักษณะเรียกว่า  ระบบลูกข่าย/แม่ข่าย (client/server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งที่เป็นผู้ให้บริการด้านต่างๆ  จะเรียกว่า  เครื่องผู้ให้บริการหรือเครื่องแม่ข่าย (server) และคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆที่ติดต่อกับเครื่องแม่ข่ายเพื่อทำการร้องขอใช้ บริการต่างๆ  เรียกว่า เครื่องผู้ใช้บริการหรือเครื่องลูกข่าย (client)  โดยเครื่องแม่ข่ายเครื่องหนึ่งสามารถรองรับให้บริการแก่เครื่องลูกข่ายได้ จำนวนหลายเครื่อง  ซึ่งในการเข้าใช้ระบบระยะไกลนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลที่ผู้ขอเข้าไปใช้งานนั้นจะทำหน้าี่เป็น เครื่องแม่ข่ายส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานนั้นจะทำหน้าที่ เป็นเคร่องลูกข่าย  โดยเครื่องแม่ข่ายจะสามารถรองรับการติดต่อจากเครื่องลูกข่ายได้หลากหลาย ประเภท  ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเครื่องชนิดเดียวกันหรือมีระบบปฏิบัติการเหมือนกัน  เพราะการทำงานในระบบนี้จะไไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์


         8)การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล(FTP:flie transfer Protocol)
 เป็นการแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการฏโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เรียกว่า FTP  Server กับเครื่องไคลเอนต์ที่ใช้บริการเรีนกว่า FTP Client  การโอนย้ายข้อมูลแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การดาวโหลดและการอัปโหลด
  1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามา ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรี เช่น www.download.com การดาวน์โหลดโปรแกรมป้องกันไวรัสจาก www.sanook.com มาใช้งานที่เครื่อง เป็นต้น
  2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์ เช่น FTP Commander
         9) บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือ ยูสเน็ต ( usenet ) 
   มี ลักษณะเป็นกลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งคล้ายกับการเปิดเวทีสาธารณะให้ผู้คนทั่วโลกแสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยผู้ใช้สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
      10) เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) 
   เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะสามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรี กีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่างภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser)ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่ายที่ทำไว้เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวถึงเว็บไว้ว่า นอกเหนือจากการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการแลกเปลี่ยนเอกสารกันแล้ว อินเทอร์เน็ตยังสนับสนุนสืบค้นข้อมูล อันเป็นโปรแกรมการใช้งานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแบบหนึ่งนั่นคือเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งหมายถึงเครื่องบริการเว็บที่ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยมีข่าวสารเป็นภาพกราฟิก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องบริการเว็บประเภทนั้น จอภาพจะปรากฏข่าวสารพร้อมด้วยการเชื่อมโยง เมื่อเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่จุดเชื่อมโยงใดๆ ก็จะเป็นการเปิดไปสู่อีกหน้าหนึ่งที่มีข่าวสารเพิ่มเติมพร้อมทั้งการเชื่อมโยงจุดใหม่อื่นๆ ซึ่งข่าวสารหน้าใหม่นี้อาจจะอยู่ในเครื่องบริการเว็บเดียวกันหรืออาจเป็นเครื่องบริการเว็บอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตกิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้กล่าวถึงเวิลด์ไวด์เว็บว่า เป็นบริการสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติ (hypertext) โดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง เพื่อเสนอหน้าเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสารสนเทศที่นำเสนอจะมีรูปแบบทั้งในลักษณะของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การเข้าสู่ระบบเว็บจะต้องใช้โปรแกรมทำงานซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator), อินเทอร์เน็ต เอ็กซพลอเรอร์ (Internet Explorer) มอเซอิก (Mosaic) โปรแกรมเหล่านี้ช่วยให้การใช้เว็บในอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น






          11) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic commerce หรือ e – commerce ) 
   เป็น การทำธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซด์เป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่าง เช่น ร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอรายการและตัวอย่างหนังสือบนเว็บ ได้ มีระบบค้นหาหนังสือที่ลูกค้าต้องการ โดยดูตัวอย่างหนังสือก่อน และถ้าต้องการสั่งซื้อ ก็สามารถสั่งซื้อได้โดยกรอกแบบฟอร์มการสั่งซื้อ พร้อมทั้งเลือกวิธีการชำระเงินค่าหนังสือทีมีหลายรูปแบบ เช่น ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือระบบการนำส่งสินค้าแล้วจึงค่อยชำระเงิน ตัวอย่างการซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ต

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

2.อินเทอร์เน็ต

  ในสังคมสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความรู้ความเข้าใจในระบบอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสังคม ซึ่งปัจจุบันถ้ากล่าวถึงอินเทอร์เน็ต หลายๆ คนคงรู้จักและเคยใช้บริการ บนอินเทอร์เน็ต เช่น (E-mail) การพูดคุยออนไลน์ (Talk) เป็นต้น
  2.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
 อินเทอร์เน็ต (Internet)   คือ  เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network อินเทอร์เน็ต (Internet)  เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโป รโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
 


  อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (ArpA net เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)
ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา(Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)
ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNET  และพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา   จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต
สำหรับประเทศไทย นั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อ เดือนสิงหาคม 2535
ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา
อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น)


 

1.3 การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

   การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับออกแบบและจัดการงานด้านการสื่อสาร มีลักษณะการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคเอนต์เซิฟต์เวอร์ (Client/Sever) คือ การจัดการเรียกใช้ ข้อมูลและโปรมแกรมจะอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์  ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลเอนต์     
ปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีให้เลือกใช้งานหลายโปรแกรม ตัวอย่าง    

1) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส (linux community enterprise operating system) 
 เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ในลักษณะของงานลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ลีนุส เห็นว่าระบบมินิกซ์ (Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งทำการพัฒนาโดย ศ.แอนดรูว์ ทาเนนบาวม์ (Andrew S. Tanenbaum) ยังมีความสามารถไม่เพียงพอแก่ความต้องการ จึงได้เริ่มต้นทำการพัฒนาระบบยูนิกซ์ของตนเองขึ้นมา โดยจุดประสงค์อีกประการ คือต้องการทำความเข้าใจในวิชาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วย

  2) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server) 
 ปัจจุบัน ถูกพัฒนาเป็น Windows Server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพิเคชั่น และที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ สามารถพัฒนาให้บิการและจัดการกับแอพพิเคชั่นต่างๆที่เสริมสร้างส่วนติดต่อ ผู้ใช้ (User Interface : UI) เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการใช้งานสูงสุดนอกจากนี้ยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือ ข่ายที่มีความปลอดภัยสูง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าด้านเทคโนโลยีให้
กับองค์กร โดยมีการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานใหม่ๆและยังเพิ่ม             ประสิทธิภาพให้กับระบบปฏิบัติการพื้นฐานมีคุณสมบัติเด่นดังนี้        
       1. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์
    2. เวอร์ชวลไลเซชั่น (virtualization) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสร้างระบบเสมือนจริงมีรากฐานจาก hypervisor
      3. มีระบบจัดการและดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา แอพพิเคชันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น
     4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น และมีนวัตกรรมด้านความปลอดภัยใหม่ๆ อีกหลายชนิดเพื่อให้การติดตั้งระบบเครือข่ายตามนโยบายความปลอดภัยทำได้ง่ายขึ้น ช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของระบบเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงข้อมูลสำคัญด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

1.2 การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

  การติดตั้งระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีจุดประสงค์เพื่อใช้งานภายในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ข้อมูล เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ เป็นต้น
  1)อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิด ได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตซ์ โมเด็ม เราเตอร์ สายสัญญาณ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้ 
1.1) การ์ดแลน(Lan card)
  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูล จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็จะต้องมีการ์ดแลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีก อย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ADSL ตามบ้าน มักจะใช้การ์ดแลนเป็นตัวเชื่อมต่ออีกด้วย การใช้การ์ดแลน จะใช้ควบคู่กับสายแลนประเภท UTP หรือสายที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคือสาย CAT5, CAT5e, CAT6 เป็นต้น
1.2) ฮับ (hub)  
  ฮับช่วยให้คอมพิวเตอร์ต่างๆบนเครือข่ายสามารถสื่อสารกันไดคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับฮับโดยสายอีเทอร์เน็ต และส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านฮับ ฮับไม่สามารถระบุแหล่งข้อมูลหรือปลายทางที่กำหนดของข้อมูลที่ได้รับ ดังนั้นจึงส่งข้อมูลไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกับฮับ ซึ่งรวมถึงเครื่องที่ส่งข้อมูลดังกล่าวด้วย ฮับสามารถส่งหรือรับข้อมูล แต่ไม่สามารถทำทั้งสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้ฮับทำงานช้ากว่าสวิตช์ ฮับเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุดและมีราคาถูกที่สุดของอุปกรณ์ เหล่านี้


              
1.3) สวิตช์ (switch)  
   สวิตช์ ทำงานแบบเดียวกับฮับแต่สามารถระบุปลายทางที่กำหนดของข้อมูลที่ได้รับ ดังนั้นจึงส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องที่ควรจะได้รับข้อมูล เท่านั้น สวิตช์สามารถส่งและรับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับ ถ้าเครือข่ายในบ้านมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสี่เครื่อง หรือคุณต้องการใช้เครือข่ายสำหรับกิจกรรมที่ต้องการการส่งข้อมูลจำนวน มากระหว่างคอมพิวเตอร์ (เช่น เล่นเกมบนเครือข่าย หรือฟังเพลงร่วมกัน) คุณควรใช้สวิตช์มากกว่าฮับ สวิตช์มีราคาแพงกว่าฮับ

1.4) โมเด็ม (modem) 
  โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะลอก และแปลงสัญญาณแอนะลอกกลับเป็นดิจิทัลมาจากคำว่า MOdelatory/DEModulator กระบวนการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะลอก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modlation) และกระบวนการแปลงสัญญาณแอนะลอกกลับเป็นดิจิทัล เรียกว่าดีมอดูเลชัน (Demodulation)โดยวิธีการจะเป็นการแปลงรูปทรงของคลื่นเพื่อให้สามารถรับรู้ สารสนเทศแบบดิจิทัลได้เท่านั้น เช่น กรรมวิธีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่น (frequency) รอบคลื่นปกติในคาบเวลาที่กำหนดให้อาจใช้แทนบิต 0 หรือกรรมวิธีเปลี่ยนแปลงช่วงกว้างของคลื่น (amplitude) อาจใช้แทนบิต 1 นั่นคือ ความสูงของคลื่นปกติอาจมีนัยนะแทน 1 ในขณะที่คลื่นที่ต่ำกว่าใช้แทน 0 เนื่องเพราะว่า คุณสมบัติของคลื่นย่อมไม่อาจแปลงรูปทางเป็นลักษณะเปิด/ปิด เพื่อแทนสัญญาณดิจิทัลได้อย่างตรงๆ

1.5)อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์(router)   
  เราเตอร์จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้ และสามารถส่งผ่านข้อมูลระหว่างสองเครือข่าย เช่น ระหว่างเครือข่ายในบ้านกับอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการกำหนดปริมาณการใช้เครือข่ายนี้จึงเป็นที่มาของชื่อเราเตอร์ โดยเราเตอร์มีทั้งแบบผ่านสาย (ใช้สายอีเทอร์เน็ต)หรือไร้สาย ในกรณีที่คุณเพียงต้องการเชื่อมต่อ    ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆของคุณ ฮับและสวิตช์สามารถใช้งานได้ แต่ถ้าคุณต้องการให้คอมพิวเตอร์ทั้งหมดของคุณสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็มเครื่องเดียว ให้ใช้เราเตอร์หรือโมเด็มที่มีเราเตอร์ในตัว นอกจากนี้โดยทั่วไปแล้วเราเตอร์ยังมีระบบการรักษาความปลอดภัยในตัว เช่น ไฟร์วอลล์ เราเตอร์จะมีราคาแพงกว่าฮับและสวิตช์

               1.6) สายสัญญาณ (cable) 
   เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอกซ์ สายตีเกลียวคูแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกว   สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน สายใยแก้วนำแสง

          
2) การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้กันในปัจจุบันมั 2 แบบหลักๆ คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ และการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล

               2.1) การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ หาก มีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เพราะถ้ามีคอมพิวเตอร์แค่สองเครื่อง ก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้ (cross line) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเข้าหากันโดยตรงได้ แต่ถ้ามีมากกว่าสองเครื่อง ควรใช้สวิตช์หรือฮับด้วย
               2.2) การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล จาก ข้อจำกัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า 100 เมตรได้ จึงต้องหาทางเลือกสำหรับระบบเครือข่าย ดังนี้
                    แบบที่หนึ่ง คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ (repeater) ไว้ทุกๆ ระยะ 100 เมตร เพราะเนื่องจากข้อจำกัดที่ไม่สามารถติดตั้งฮับหรือสวิตช์โดยผ่านสายตีเกลียว คู่ได้


                    แบบที่สอง คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ และเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์ ซึ่งในกรณีที่มีการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากระหว่างเครือข่ายจะมีความล่าช้ามาก จึงควรเลือกใช้การเช่าสัญญาณของบริษัทผู้ให้บริการ ซึ่งจะได้ความเร็วมากกว่า


           แบบที่สาม ถือ ว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณ ที่เลือกใช้ คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง รวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการติดตั้งระบบเครือข่าย โดยใช้สายใยแก้วนำแสงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (media converter) ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ในการแแปลงสัญญาณจากสายทองแดง (copper) ไปเป็นสัญญาณผ่านสายใยแก้วนำแสง

                    
         แบบที่สี่ คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายสัญญาณ ซึ่งเหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด โดยปกติแล้วการสื่อสารแบบไร้สายจะทำงานบนมาตรฐาน802.11b (ตัวอักษรที่กำกับด้านท้ายมาตรฐานใช้บอกความเร็วในการส่งข้อมูล) ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลสูง

      

  
   แบบที่ห้า คือ เทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล DSL (Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้สามารถส่งข้อมูลในขณะเดียวกันกับการใช้งานโทรศัพท์ได้ ซึ่งความสามารถพิเศษของเทคโนโลยีG.SHDSLนี้ สามารถช่วยขยายวงของระบบเครือข่าย เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลถึง 6 กิโลเมตร โดยผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลถึง 2.3 Mbps



                 

   แบบที่หก คือ เทคโนโลยีแบบ ether over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถจะติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างเครือข่ายแลนผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาให้มีระยะ ไกลได้ถึง 1.5 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10 Mbps และยังสามารถรับส่งข้อมูลพร้อมกับใช้งานโทรศัพท์ในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย



วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

1.1ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer net work) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ เช่น สายสัญาณ คลื่นวิทยุ เป็นต้น เพื่อทำให้สามมารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้ทรัพยากรร่วมด้วยกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ ที่มีราคาแพง เป็นต้น ซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กร
  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท 
1.เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network : LAN)
2.เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3.เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน (Wide Area Network : WAN)
4.เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต (intranet)
5.เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือเอ็กทราเน็ต (extranet)
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet)
  เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบพื้นฐาน 2 ส่วนหลัก คือ องค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ และองค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ โดยองค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้งานและเชื่อมต่อภายในเครือข่าย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ สายสัญญาณ เป็นต้น ส่วนองค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ หมายถึง ระบบปฏิบัติการ หรือโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้สนับสนุนการทำงานและให้บริการด้านต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ให้สามารถติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายได้