วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

2.อินเทอร์เน็ต

  ในสังคมสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความรู้ความเข้าใจในระบบอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสังคม ซึ่งปัจจุบันถ้ากล่าวถึงอินเทอร์เน็ต หลายๆ คนคงรู้จักและเคยใช้บริการ บนอินเทอร์เน็ต เช่น (E-mail) การพูดคุยออนไลน์ (Talk) เป็นต้น
  2.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
 อินเทอร์เน็ต (Internet)   คือ  เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network อินเทอร์เน็ต (Internet)  เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโป รโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
 


  อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (ArpA net เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)
ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา(Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)
ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNET  และพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา   จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต
สำหรับประเทศไทย นั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อ เดือนสิงหาคม 2535
ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา
อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น)


 

1.3 การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

   การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับออกแบบและจัดการงานด้านการสื่อสาร มีลักษณะการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคเอนต์เซิฟต์เวอร์ (Client/Sever) คือ การจัดการเรียกใช้ ข้อมูลและโปรมแกรมจะอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์  ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลเอนต์     
ปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีให้เลือกใช้งานหลายโปรแกรม ตัวอย่าง    

1) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส (linux community enterprise operating system) 
 เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991 โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ในลักษณะของงานลีนุกซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1980 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ลีนุส เห็นว่าระบบมินิกซ์ (Minix) ที่เป็นระบบยูนิกซ์บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งทำการพัฒนาโดย ศ.แอนดรูว์ ทาเนนบาวม์ (Andrew S. Tanenbaum) ยังมีความสามารถไม่เพียงพอแก่ความต้องการ จึงได้เริ่มต้นทำการพัฒนาระบบยูนิกซ์ของตนเองขึ้นมา โดยจุดประสงค์อีกประการ คือต้องการทำความเข้าใจในวิชาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วย

  2) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server) 
 ปัจจุบัน ถูกพัฒนาเป็น Windows Server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพิเคชั่น และที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ สามารถพัฒนาให้บิการและจัดการกับแอพพิเคชั่นต่างๆที่เสริมสร้างส่วนติดต่อ ผู้ใช้ (User Interface : UI) เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการใช้งานสูงสุดนอกจากนี้ยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือ ข่ายที่มีความปลอดภัยสูง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าด้านเทคโนโลยีให้
กับองค์กร โดยมีการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานใหม่ๆและยังเพิ่ม             ประสิทธิภาพให้กับระบบปฏิบัติการพื้นฐานมีคุณสมบัติเด่นดังนี้        
       1. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์
    2. เวอร์ชวลไลเซชั่น (virtualization) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสร้างระบบเสมือนจริงมีรากฐานจาก hypervisor
      3. มีระบบจัดการและดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา แอพพิเคชันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น
     4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น และมีนวัตกรรมด้านความปลอดภัยใหม่ๆ อีกหลายชนิดเพื่อให้การติดตั้งระบบเครือข่ายตามนโยบายความปลอดภัยทำได้ง่ายขึ้น ช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานของระบบเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงข้อมูลสำคัญด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

1.2 การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก

  การติดตั้งระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีจุดประสงค์เพื่อใช้งานภายในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ข้อมูล เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ เป็นต้น
  1)อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิด ได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตซ์ โมเด็ม เราเตอร์ สายสัญญาณ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้ 
1.1) การ์ดแลน(Lan card)
  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูล จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็จะต้องมีการ์ดแลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีก อย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ADSL ตามบ้าน มักจะใช้การ์ดแลนเป็นตัวเชื่อมต่ออีกด้วย การใช้การ์ดแลน จะใช้ควบคู่กับสายแลนประเภท UTP หรือสายที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคือสาย CAT5, CAT5e, CAT6 เป็นต้น
1.2) ฮับ (hub)  
  ฮับช่วยให้คอมพิวเตอร์ต่างๆบนเครือข่ายสามารถสื่อสารกันไดคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับฮับโดยสายอีเทอร์เน็ต และส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านฮับ ฮับไม่สามารถระบุแหล่งข้อมูลหรือปลายทางที่กำหนดของข้อมูลที่ได้รับ ดังนั้นจึงส่งข้อมูลไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกับฮับ ซึ่งรวมถึงเครื่องที่ส่งข้อมูลดังกล่าวด้วย ฮับสามารถส่งหรือรับข้อมูล แต่ไม่สามารถทำทั้งสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้ฮับทำงานช้ากว่าสวิตช์ ฮับเป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุดและมีราคาถูกที่สุดของอุปกรณ์ เหล่านี้


              
1.3) สวิตช์ (switch)  
   สวิตช์ ทำงานแบบเดียวกับฮับแต่สามารถระบุปลายทางที่กำหนดของข้อมูลที่ได้รับ ดังนั้นจึงส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องที่ควรจะได้รับข้อมูล เท่านั้น สวิตช์สามารถส่งและรับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับ ถ้าเครือข่ายในบ้านมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสี่เครื่อง หรือคุณต้องการใช้เครือข่ายสำหรับกิจกรรมที่ต้องการการส่งข้อมูลจำนวน มากระหว่างคอมพิวเตอร์ (เช่น เล่นเกมบนเครือข่าย หรือฟังเพลงร่วมกัน) คุณควรใช้สวิตช์มากกว่าฮับ สวิตช์มีราคาแพงกว่าฮับ

1.4) โมเด็ม (modem) 
  โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะลอก และแปลงสัญญาณแอนะลอกกลับเป็นดิจิทัลมาจากคำว่า MOdelatory/DEModulator กระบวนการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะลอก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modlation) และกระบวนการแปลงสัญญาณแอนะลอกกลับเป็นดิจิทัล เรียกว่าดีมอดูเลชัน (Demodulation)โดยวิธีการจะเป็นการแปลงรูปทรงของคลื่นเพื่อให้สามารถรับรู้ สารสนเทศแบบดิจิทัลได้เท่านั้น เช่น กรรมวิธีการเปลี่ยนแปลงความถี่ของคลื่น (frequency) รอบคลื่นปกติในคาบเวลาที่กำหนดให้อาจใช้แทนบิต 0 หรือกรรมวิธีเปลี่ยนแปลงช่วงกว้างของคลื่น (amplitude) อาจใช้แทนบิต 1 นั่นคือ ความสูงของคลื่นปกติอาจมีนัยนะแทน 1 ในขณะที่คลื่นที่ต่ำกว่าใช้แทน 0 เนื่องเพราะว่า คุณสมบัติของคลื่นย่อมไม่อาจแปลงรูปทางเป็นลักษณะเปิด/ปิด เพื่อแทนสัญญาณดิจิทัลได้อย่างตรงๆ

1.5)อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์(router)   
  เราเตอร์จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้ และสามารถส่งผ่านข้อมูลระหว่างสองเครือข่าย เช่น ระหว่างเครือข่ายในบ้านกับอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการกำหนดปริมาณการใช้เครือข่ายนี้จึงเป็นที่มาของชื่อเราเตอร์ โดยเราเตอร์มีทั้งแบบผ่านสาย (ใช้สายอีเทอร์เน็ต)หรือไร้สาย ในกรณีที่คุณเพียงต้องการเชื่อมต่อ    ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆของคุณ ฮับและสวิตช์สามารถใช้งานได้ แต่ถ้าคุณต้องการให้คอมพิวเตอร์ทั้งหมดของคุณสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็มเครื่องเดียว ให้ใช้เราเตอร์หรือโมเด็มที่มีเราเตอร์ในตัว นอกจากนี้โดยทั่วไปแล้วเราเตอร์ยังมีระบบการรักษาความปลอดภัยในตัว เช่น ไฟร์วอลล์ เราเตอร์จะมีราคาแพงกว่าฮับและสวิตช์

               1.6) สายสัญญาณ (cable) 
   เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอกซ์ สายตีเกลียวคูแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกว   สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวน สายใยแก้วนำแสง

          
2) การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้กันในปัจจุบันมั 2 แบบหลักๆ คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ และการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล

               2.1) การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ หาก มีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เพราะถ้ามีคอมพิวเตอร์แค่สองเครื่อง ก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้ (cross line) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเข้าหากันโดยตรงได้ แต่ถ้ามีมากกว่าสองเครื่อง ควรใช้สวิตช์หรือฮับด้วย
               2.2) การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล จาก ข้อจำกัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า 100 เมตรได้ จึงต้องหาทางเลือกสำหรับระบบเครือข่าย ดังนี้
                    แบบที่หนึ่ง คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ (repeater) ไว้ทุกๆ ระยะ 100 เมตร เพราะเนื่องจากข้อจำกัดที่ไม่สามารถติดตั้งฮับหรือสวิตช์โดยผ่านสายตีเกลียว คู่ได้


                    แบบที่สอง คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ และเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์ ซึ่งในกรณีที่มีการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากระหว่างเครือข่ายจะมีความล่าช้ามาก จึงควรเลือกใช้การเช่าสัญญาณของบริษัทผู้ให้บริการ ซึ่งจะได้ความเร็วมากกว่า


           แบบที่สาม ถือ ว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณ ที่เลือกใช้ คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง รวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการติดตั้งระบบเครือข่าย โดยใช้สายใยแก้วนำแสงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (media converter) ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ในการแแปลงสัญญาณจากสายทองแดง (copper) ไปเป็นสัญญาณผ่านสายใยแก้วนำแสง

                    
         แบบที่สี่ คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายสัญญาณ ซึ่งเหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด โดยปกติแล้วการสื่อสารแบบไร้สายจะทำงานบนมาตรฐาน802.11b (ตัวอักษรที่กำกับด้านท้ายมาตรฐานใช้บอกความเร็วในการส่งข้อมูล) ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลสูง

      

  
   แบบที่ห้า คือ เทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล DSL (Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้สามารถส่งข้อมูลในขณะเดียวกันกับการใช้งานโทรศัพท์ได้ ซึ่งความสามารถพิเศษของเทคโนโลยีG.SHDSLนี้ สามารถช่วยขยายวงของระบบเครือข่าย เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลถึง 6 กิโลเมตร โดยผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลถึง 2.3 Mbps



                 

   แบบที่หก คือ เทคโนโลยีแบบ ether over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถจะติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างเครือข่ายแลนผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาให้มีระยะ ไกลได้ถึง 1.5 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10 Mbps และยังสามารถรับส่งข้อมูลพร้อมกับใช้งานโทรศัพท์ในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย



วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

1.1ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer net work) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ เช่น สายสัญาณ คลื่นวิทยุ เป็นต้น เพื่อทำให้สามมารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้ทรัพยากรร่วมด้วยกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ ที่มีราคาแพง เป็นต้น ซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กร
  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท 
1.เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network : LAN)
2.เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3.เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน (Wide Area Network : WAN)
4.เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต (intranet)
5.เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือเอ็กทราเน็ต (extranet)
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet)
  เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบพื้นฐาน 2 ส่วนหลัก คือ องค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ และองค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ โดยองค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้งานและเชื่อมต่อภายในเครือข่าย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ สายสัญญาณ เป็นต้น ส่วนองค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ หมายถึง ระบบปฏิบัติการ หรือโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้สนับสนุนการทำงานและให้บริการด้านต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ให้สามารถติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายได้